สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง เกิดจากอะไร

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้งเกิดจากอะไร

  1. เสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง เกิดจากการที่น้ำทิ้งกระทบกับท่อภายใน ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน โดยทั่วไป เสียงมักเกิดบริเวณข้องอและทางแยกของท่อ เนื่องจากน้ำไหลกระทบท่อแรงกว่าบริเวณทางตรง และบริเวณดังกล่าวจะมีความปั่นป่วนมากเป็นพิเศษ
  2. วัสดุของท่อที่ใช้ ในอดีตช่วงยุคก่อนปี ค.ศ. 1970 ท่อที่ใช้ในอาคารมักทำจากเหล็กหล่อ (cast iron) จากนั้น ได้มีการทดลองนำโลหะชนิดอื่นอย่างทองแดงมาใช้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่ทนต่อการกัดกร่อน และยังมีท่อจากเหล็กกัลวาไนซ์ ซึ่งพบว่าไม่เหมาะสมอีกเช่นกัน เนื่องจากมีการอุดตันบ่อยมาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามาก ดังนั้น วัสดุที่ใช้ทำท่อหลักๆ ในปัจจุบันเหลืออยู่ 2 ประเภท คือ เหล็กหล่อ (cast iron) และ พลาสติก เช่น PVC และ ABS วัสดุเหล่านี้ต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ท่อเหล็กนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นท่อที่ไม่ก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง น้ำหนักมาก ทำให้ท่อไม่เกิดการสั่นสะเทือนจนกลายเป็นเสียงรบกวนเมื่อมีน้ำไหลผ่าน นอกจากนั้นยังไม่ไหม้ไฟ จึงไม่ก่อให้เกิดสารพิษหากเกิดกรณีไฟไหม้ขึ้น มีอายุการใช้งานยาวนานมากหากดูตึกเก่าๆ ในแถบยุโรป เราจะพบว่าอาคารที่มีอายุนับร้อยปีบางอาคาร ก็ยังใช้ท่อเหล็กมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างกันอยู่ อย่างไรก็ตามราคาของท่อเหล็กนั้นสูงกว่าท่อพลาสติกพอสมควรจึงทำให้ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ที่ต้องการลดต้นทุนเลือกที่จะใช้ท่อพลาสติกซึ่งมีราคาถูก และเบากว่าแทน ชนิดพลาสติกที่นิยมใช้ คือ พีวีซีประเภท Post-Chlorinated Polyvinyl chloride (CPVC) ซึ่งคุณสมบัติของพลาสติกนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักเบา มีความทนทานต่อสารกัดกร่อนที่เจือจางมากับน้ำได้พอสมควร ติดตั้งและซ่อมแซมง่าย ที่สำคัญคือไม่เกิดสนิม ไม่เปราะแตกง่าย หากติดตั้งดีๆ สามารถอยู่ได้ยาวนานหลายปี แต่อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานของเหล็กก็อยู่ได้นานกว่าพลาสติกมาก และด้วยความหนาแน่นที่ต่ำของพลาสติก เมื่อนำมาใช้ในระบบท่อน้ำทิ้ง จึงเกิดเสียงดังมากจากการสั่นสะเทือน ทำให้ผู้คนที่พักในโรงแรมหรือคอนโดมิเนียมที่ใช้ท่อพลาสติกสามารถได้ยินเสียงห้องข้างๆ หรือชั้นบนอย่างชัดเจนว่ามีการอาบน้ำหรือกดชักโครก อย่างไรก็ตามใช่ว่าจะไม่สามารถแก้ไขเสียงดังอันเกิดจากการใช้ท่อพลาสติกได้ วิธีการแก้ไขที่ง่ายที่สุดคือการหุ้มท่อด้วยฉนวนกันเสียงซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นใยแก้ว โฟมยางชนิดต่างๆ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *