ท่อ PVC

ระบบน้ำประปาภายในบ้าน

ระบบน้ำประปาภายในบ้าน

ระบบน้ำประปาภายในบ้านสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ  1.ระบบจ่ายน้ำขึ้น เหมาะสำหรับอาคารหรือบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 3 ชั้นโดยน้ำจะถูกจ่ายจากท่อประปาหลักเข้าสู่ถังเก็บน้ำใต้ดินหรือบนดินจากนั้นจึงจ่ายไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆภายในอาคารแรงดันน้ำจะขึ้นอยู่กับความสูงของอาคารและขนาดของท่อประปา 2.ระบบจ่ายน้ำลง เหมาะสำหรับอาคารหรือบ้านที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปโดยน้ำจะถูกสูบจากท่อประปาหลักขึ้นไปเก็บไว้ในถังเก็บน้ำบนอาคารจากนั้นจึงจ่ายไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆภายในอาคารแรงดันน้ำจะขึ้นอยู่กับขนาดของถังเก็บน้ำและจำนวนชั้นของอาคาร 3.ระบบจ่ายน้ำแบบผสม ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้อยู่อาศัยข้อดีของระบบประปาในบ้านแบบผสมระบบนี้สามารถรับน้ำประปาที่จ่ายจากท่อประปาหรือสูบน้ำขึ้นจากชั้นล่างได้โดยตรงและยังสามารถรับน้ำประปาที่จ่ายจากถังเก็บหลังคาได้อีกด้วย

ระบบน้ำประปาภายในบ้าน Read More »

ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

สาเหตุที่ทำให้ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน วิธีแก้ไขท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน สำหรับท่อประปาใต้ดิน หรือใต้บ้านนั้น ค่อนข้างยากที่จะตรวจสอบหรือพบเห็น แต่ก็สามารถสังเกตได้จากการใช้น้ำในชีวิตประจำวันว่า น้ำประปา ไหลอ่อนกว่าปกติ ซึ่งถ้าไม่พบความผิดปกติที่จุดอื่น ให้ลองตรวจสอบดูทั้งบริเวณภายใน และภายนอกบ้าน ว่ามีน้ำรั่วซึมจนขังที่พื้นบ้าน หรือสนามหญ้าตลอดเวลาหรือไม่ และกรณีที่ท่อน้ำรั่วซึมจากการทรุดตัวของบ้าน หรือส่วนต่อเติมบ้านทรุด สังเกตได้ว่า บริเวณที่ อาจเป็นปัญหาจะมีการทรุดตัวมากกว่าส่วนอื่น ๆ เนื่องจากดิน หรือทรายใต้ดิน มีการเคลื่อนตัว การแก้ไขเบื้องต้น  หากพบว่า มีท่อน้ำรั่วใต้ดิน หรือท่อน้ำประปารั่วใต้พื้นบ้าน ต้องใช้วิธีขุดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อทำการซ่อมแซม แต่จะขุดมากน้อยแค่ไหน อาจต้องประเมินดูตามโครงสร้างของบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว ตัวโครงสร้างบ้าน จะมีฐานรากรองรับอยู่ ซึ่งจะมีช่องว่างพอ ที่จะสามารถมุดเข้าไปซ่อมแซม แก้ไขท่อบริเวณใต้บ้านได้ ดังนี้

ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน Read More »

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง เกิดจากอะไร

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้งเกิดจากอะไร

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง เกิดจากอะไร Read More »

ระบบสุขาภิบาล มีกี่ประเภท

ระบบสุขาภิบาล มีกี่ประเภท

ระบบสุขาภิบาลมีกี่ประเภท ตามมาตรฐานการออกแบบที่ใช้ในระดับสากล และในประเทศไทย ระบบสุขาภิบาล สามารถแบ่งออกได้ 7 ระบบ คือ… 1. ระบบน้ำดีหรือน้ำประปา คือ ระบบท่อที่ใช้งานในการลำเลียงน้ำสะอาดไปใช้งานตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น ระบบน้ำประปาสำหรับห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักล้าง หรือ ระบบน้ำดับเพลิงภายในอาคาร เป็นต้น 2. ระบบระบายน้ำโสโครก คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากโถส้วม หรือโถปัสสาวะออกจากพื้นที่และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร 3. ระบบระบายน้ำทิ้ง คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากกิจกรรมอื่น ๆ ออกจากพื้นที่ และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร 4. ระบบบำบัดน้ำเสีย คือ ระบบที่ใช้บำบัดน้ำจากการใช้งานภายในอาคาร ให้มีค่าดัชนีวัดค่าคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก่อนระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ 5. ระบบท่อระบายอากาศหรือท่ออากาศ คือ ระบบท่อที่จะติดตั้งเข้ากับระบบท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาสุญญากาศในเส้นท่อระบายน้ำ ซึ่งจะทำให้ระบบระบายน้ำในเส้นท่อสามารถระบายน้ำได้สะดวก 6. ระบบท่อระบายน้ำฝน คือ ระบบท่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำฝนที่เกิดขึ้นกรณีฝนตกออกจากตัวอาคาร 7. ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร คือ ระบบท่อระบายน้ำบริเวณโดยรอบของอาคาร

ระบบสุขาภิบาล มีกี่ประเภท Read More »

รูปแบบการเดิน ท่อประปาภายในบ้าน

รูปแบบการเดินท่อประปาภายในบ้าน

รูปแบบการเดินท่อประปาภายในบ้าน โดยทั่วๆไปแล้วการเดินท่อภายในบ้านจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี  วิธีการเดินท่อแบบลอย หรือ การเดินท่อแบบติดผนัง วางบนพื้น ไม่ได้ทำการฝังเข้าไปในกำแพง หรือ เพดาน เป็นวิธีการเดินท่อที่สามารถมองเห็นท่อได้ ทำให้ซ่อมแซมท่อได้ง่าย แต่จะส่งผลให้บ้าน หรือ อาคารไม่มีความสวยงาม  วิธีการเดินท่อแบบฝัง หรือ การฝังท่อเข้าไปในผนัง หรือ การวางระบบท่อแล้วฉาบปูนทับ หรืออาจจะถูกนำไปซ่อนไว้ตามเพดาน แล้วนำฝ้ามาปิดทับก็ได้ วิธีการเดินท่อแบบฝังจะทำให้บ้านหรืออาคารมีความสวยงามมากกว่าการเดินท่อแบบลอย แต่จะมีข้อด้อยในส่วนของการซ่อมแซมที่ทำได้ยาก

รูปแบบการเดินท่อประปาภายในบ้าน Read More »

ก๊อกน้ำรั่ว น้ำหยด เกิดจากอะไร

ก๊อกน้ำรั่ว น้ำหยด เกิดจากอะไร

ก๊อกน้ำรั่วน้ำหยด ปัญหาการเกิดน้ำรั่วซึมนั้น มีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง แต่ละสาเหตุก็มีวิธีการแก้ไขแตกต่างกัน โดยสามารถสรุปสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ในบางกรณีอาจเกิดจากปัจจัยอื่นที่ต่างออกไป ซึ่งสิ่งสำคัญก่อนที่เราจะทำการซ่อม ก็คือการรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการรั่วซึมของก๊อกเสียก่อน จากนั้น เราก็จะสามารถซ่อมได้อย่างตรงจุด วิธีซ่อมก๊อกน้ำ วิธีซ่อม : สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า เกิดการรั่วซึมบริเวณข้อต่อของก๊อกน้ำจริงๆ โดยสังเกตจากการหยด ซึม หรือรอยน้ำ ซึ่งถ้าใช่ก็ลงมือต่อในขั้นตอนต่อไป แต่ถ้าไม่ก็ควรตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน จากนั้นหากมั่นใจแล้วว่าบริเวณข้อต่อของก๊อกน้ำรั่วซึมจริง ให้เราทำการปิดวาล์วน้ำที่จ่ายน้ำมายังก๊อกดังกล่าว ก่อนทำการซ่อมแซม ต่อมาให้เราหาผ้ามาหุ้มตัวก๊อก ก่อนใช้คีมหรือประแจเลื่อนที่เตรียมไว้ ทำการจับก๊อก และหมุนทวนเข็มเพื่อคลายหัวก๊อกออกจากข้อต่อที่ยึดติดผนัง ซึ่งเราจะเห็นเทปพันเกลียวเก่าบริเวณปลายเกลียวของก๊อก ให้เอาออกแล้วใช้เทปพันเกลียวพันรอบใหม่บริเวณเกลียวของตัวก๊อก โดยพันประมาณ 3-4 รอบ จากนั้นใช้ผ้าคลุมหัวก๊อก ก่อนใช้คีมประปา หรือคีมล็อค หมุนตามเข็มให้แน่น ปรับหัวก๊อกให้ตรงเพื่อใช้งาน แล้วค่อยทำการเปิดวาล์ว เพื่อใช้งานปกติ วิธีซ่อม : ขั้นตอนแรกให้ปิดวาล์วน้ำที่จ่ายน้ำมายังก๊อกอ่างล้างหน้าให้เรียบร้อยและถอดที่เปิดปิดน้ำออกโดยใช้หกเหลี่ยมขันออก จากนั้นให้ถอดวาล์วน้ำออกมาล้างทำความสะอาด ซึ่งในกรณีที่ซีลยางเสื่อมสามารถหาซีลยางที่มีขนาดและความหนาเท่ากันมาเปลี่ยนทดแทนได้ แต่ถ้าในกรณีที่เป็นวาล์วเซรามิกชุดสำเร็จรูปแนะนำให้ ถอดล้างภายนอกชุดวาล์วเพียงอย่างเดียวไม่แนะนำให้ถอดชุดวาว์ลออกมาล้างเนื่องจากอาจเกิดความเสียหายได้ โดยหากเป็นการล้างชุดวาล์ว แนะนำให้ฉีดน้ำเข้าในรูใดก็ได้ของชุดวาล์วแล้วบิดก้านเปิดปิดไปมาเพื่อให้น้ำผ่านเข้าด้านใน แต่หากถ้าเป็นการรั่วซึมบริเวณจุดเชื่อมต่อสายน้ำดีก็ให้ถอดสายน้ำดีออก และพันเกลียวใหม่ของก๊อกด้วยเทปพันเกลียว ประกอบก๊อกใหม่อีกครั้ง

ก๊อกน้ำรั่ว น้ำหยด เกิดจากอะไร Read More »

6 ปัญหาของระบบประปา ที่ทำให้มีตะกอน และมีส

ปัญหาของระบบประปาที่ทำให้มีตะกอนและมีสิ่งเจือปน

ปัญหาของระบบประปาที่ทำให้มีตะกอนและมีสิ่งเจือปนเกิดจากอะไร? การที่ระบบน้ำประปามีปัญหานั้น หลาย ๆ บ้านเคยเจอกันอย่างแน่นอน ทั้งน้ำมีตะกอนและสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่ผสมมากับน้ำ ทำให้สร้างความกังวลกับการใช้น้ำอย่างมาก เพราะน้ำที่ต้องใช้ในการอุปโภค บริโภคนั้นมีตะกอนและสิ่งเจือปน ทำให้น้ำไม่สามารถใช้ในการอุปโภค บริโภคได้อย่างปลอดภัย 1.ปัญหาจากระบบการจำหน่ายน้ำและการซ่อมท่อประปาของทางต้นน้ำ หากท่อประปามีปัญหาการเสื่อมสภาพหรือแตกรั่ว ก็จะมีการซ่อมแซมจากทางหน่วยงานอย่างเร็วที่สุด แต่ในการซ่อมแซมก็จะทำให้มีดินหรือสิ่งสกปรกที่เจือปนไปกับน้ำ ทำให้น้ำมีการเกิดตะกอน ส่วนใหญ่ตะกอนจะหายไปเองภายใน 1 วันโดยที่เรานั้นไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากรอเท่านั้น 2.ปัญหาท่อน้ำภายในบ้าน เป็นเพราะท่อน้ำมีอายุการใช้งานที่นานมากหรือมีการเปลี่ยนมาใช้น้ำแรงดันที่สูงขึ้น ทำให้คราบตะกอนที่ติดอยู่ในท่อนั้นหลุดมากับน้ำ วิธีการแก้ไขก็คือการเปลี่ยนท่อน้ำใหม่แต่จะมีงบประมาณที่สูงพอสมควร หากมีการเปลี่ยนทีนึงก็เรียกได้ว่าคุ้มค่ามาก ๆ เนื่องจากท่อน้ำนั้นสามารถใช้งานได้นานหลายปี 3.ปัญหาจากการใช้น้ำบาดาล เนื่องจากน้ำบาดาลนั้นเป็นน้ำที่มีหินปูน เหล็ก และแร่ธาตุที่มากกว่าแหล่งน้ำอื่น เช่น น้ำผิวดิน จึงทำให้ในบางครั้งเกิดคราบตะกอนตามมานั่นเอง สามารถสังเกตได้ตามก๊อกน้ำและฝักบัวก็จะเห็นได้ว่าจะมีคราบหินปูนติดอยู่ 4.ปัญหาจากการติดตั้งปั๊มน้ำ ปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดตั้งน้ำแบบดูดจากท่อส่งน้ำรวมโดยตรง ทำให้ปั๊มน้ำนั้นดูดดิน โคลน ตะกอน และสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้ามาในบ้าน นอกจากนี้การติดตั้งปั๊มน้ำแบบนี้ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย 5.ปัญหาจากถังเก็บน้ำภายในบ้าน ควรทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในบ้านทุก ๆ 6 เดือน และควรปิดฝาถังเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่น ละออง หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่จะปลิวผสมลงไปกับน้ำ ทำให้น้ำนั้นเกิดความสกปรกได้ 6.ปัญหาจากเครื่องกรองน้ำและก๊อกน้ำฝักบัวในบ้าน

ปัญหาของระบบประปาที่ทำให้มีตะกอนและมีสิ่งเจือปน Read More »

เทคนิคแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้เองโดยไม่ต้องโทรเรียกช่าง

เทคนิคแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้เองโดยไม่ต้องโทรเรียกช่าง

เทคนิคที่ 1 ตรวจสอบสาเหตุของการเกิดท่อตัน การที่จะแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงจุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้สาเหตุเสียก่อนว่าท่อน้ำตันเกิดจากอะไร ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ ดังนี้ • เศษอาหารหรือคราบน้ำมัน หลายต่อหลายครั้งที่ปัญหาท่อตันเกิดจากความเคยชินและความมักง่ายของคนในบ้าน หลังจากทานอาหารก็จะมีเศษอาหารชิ้นเล็กชิ้นน้อยหลงเหลืออยู่ในจาน แต่ด้วยความที่คิดว่าคงไม่เป็นไร เขี่ยเศษอาหารลงอ่างล้างจาน เมื่อท่อน้ำเกิดการสะสมของเศษอาหารเป็นระยะเวลานานๆ ก็ทำให้ท่อเกิดการอุดตัน ผนวกกับในอาหารก็มีไขมันจากการปรุงอาหารรวมอยู่ด้วย จึงเป็นตัวกระตุ้นให้ท่อน้ำอุดตันได้เร็วขึ้น • ลักษณะการใช้งานของคนในบ้าน โดยเฉพาะในเรื่องของการซักล้าง การทำความสะอาดเสื้อผ้า รวมไปถึงการทำความสะอาดจานชามต่างๆ เพราะน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วจะมีไขมันผสมไปกับน้ำ เมื่อเทน้ำทิ้ง ในท่อน้ำจะเกิดการรวมตัวกันของไขมัน คราบสบู่ และคราบสกปรกที่อยู่ในผงซักฟอก เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดท่อน้ำอุดตันได้ทั้งสิ้น • คุณภาพของท่อระบายน้ำ อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตัน อาจเกิดจากคุณภาพของท่อระบายน้ำเองด้วย ซึ่งท่อระบายน้ำที่ดีต้องสามารถทนต่อแรงดันของน้ำและการกัดกร่อนของสารเคมีอันเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานของคนบ้านได้ รวมถึงท่อระบายน้ำที่เสื่อมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานก็เป็นเหตุให้ท่อตันได้เช่นกัน • สิ่งของที่อุดตันในท่อ นอกเหนือจากเศษอาหารและไขมันที่เป็นสาเหตุทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันได้แล้ว ยังมีในส่วนอื่นๆ ที่สามารถทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันได้เช่นกัน ได้แก่ กระดาษทิชชู เส้นผม และผ้าอนามัย เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ จึงทำให้ท่อเกิดการอุดตันได้อย่างง่ายดาย เทคนิคที่ 2 ใช้ของใกล้ตัวในบ้านแก้ปัญหาท่อตัน เมื่อเกิดปัญหาท่อระบายน้ำอุดตันภายในบ้าน หลายๆ คนมักเลืกที่จะโทรเรียกช่างประปา แต่บ่อยครั้งที่ช่างประปานั้นไม่สามารถเข้ามาจัดการปัญหาได้ในทันที วันนี้เราจึงมีวิธีแก้ท่อตันด้วยของใช้ของใกล้ตัวในบ้านมาฝาก ไปติดตามกันว่ามีอะไรบ้าง

เทคนิคแก้ปัญหาท่อน้ำตันได้เองโดยไม่ต้องโทรเรียกช่าง Read More »

ความแตกต่างระหว่างท่อร้อยสายไฟ สีเหลือง VS สีขาว

ความแตกต่างระหว่างท่อร้อยสายไฟ สีเหลือง VS สีขาว

1. ท่อร้อยสายไฟสีขาว ท่อร้อยสายแบบสีขาวจะมีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 2.92 เมตรต่อ 1 ท่อน หรือบางยี่ห้อก็ยาวเฉลี่ยประมาณ 3 เมตรต่อ 1 ท่อน มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ทำให้เกิดการช็อตหากกระแสไฟรั่วขึ้นมากะทันหัน สามารถดัดโค้งงอได้สูงสุด 90 องศา ถือว่ามีความยืดหยุ่นอย่างมาก ไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนใด ๆ มาช่วย ทั้งยังทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีไปอีก เหมาะกับการใช้งานในอาคารและบ้านแบบประเภทเดินลอยโดยไม่จำเป็นต้องทาสีทับ กรณีที่เกิดไฟไหม้จะไม่ลามไฟ ช่วยเพิ่มความอุ่นใจด้านความปลอดภัยมากขึ้น ที่สำคัญทนทานต่อแสงแดดได้ดี เพราะมีสารไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นส่วนผสม ไม่กรอบ ไม่แตกหัก หาซื้อง่าย ราคาถูก แถมน้ำหนักเบา ส่วนใหญ่ใช้เป็นท่อร้อยสายไฟ และสายโทรศัพท์ 2. ท่อร้อยสายไฟสีเหลือง มากันที่ความแตกต่างของท่อร้อยแบบสีเหลืองกันบ้าง สีเหลืองนี้จะใช้ในงานประเภทเดินสายไฟฟ้า รวมถึงสายสื่อสาร สายโทรศัพท์ต่าง ๆ ปกติแล้วจะมีความอยู่มาตรฐานอยู่ที่ 4.00 เมตรต่อ 1 ท่อน เหมาะกับการใช้เดินสายไฟในบ้านลักษณะที่เป็นแบบฝังในผนัง ปกติไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าหากทำบ้านเสร็จเรียบร้อย เพราะจะต้องฉาบปูนปกปิดพื้นผิวผนังเอาไว้นั่นเอง สามารถดัดโค้งได้ตามความงอจำกัดไม่ถึง 90 องศาเหมือนท่อร้อยสายไฟสีขาว เพราะท่อที่ดัดจะเห็นเป็นสีขาวออกมา ราคาสูงกว่าสีขาว ———————————————\\\ กำลังมองหาคำแนะนำจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตฐาน

ความแตกต่างระหว่างท่อร้อยสายไฟ สีเหลือง VS สีขาว Read More »

ทริคการบำรุงรักษาท่อ PPR เพื่อยืดอายุการใช้งาน

ทริคการบำรุงรักษาท่อ PPR เพื่อยืดอายุการใช้งาน

1.เลือกประเภทท่อให้เหมาะสม ท่อ PPR ที่วางขายกันโดยทั่วไปนั้น จะมีขายอยู่สองรูปแบบก็คือท่อ PPR แบบ PN10 และ PN20 ซึ่งตัวเลขหลัง PN นี้จะเป็นตัวบอกว่าท่อสามารถรับแรงดันน้ำได้เท่าไร แน่นอนว่าการเลือกท่ออย่างถูกประเภทนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานท่อPPR ได้นั่นเอง โดย 1.1 ท่อ PPR PN10 = รับความดันได้ 10 บาร์ และเหมาะกับน้ำอุ่นน้ำเย็น 1.2 ท่อ PPR PN20 = รับความดันได้ 20 บาร์ และเหมาะกับน้ำร้อน 2.ตรวจสอบรอยรั่ว หมั่นทำการตรวจเช็คท่อPPR ด้วยตนเองเป็นประจำ เนื่องจากท่อPPR มีลักษณะผสานเป็นเนื้อเดียวกัน แม้แต่ตัวท่อกับข้อต่อที่ผสานกันได้ด้วยความร้อน ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษ อย่างหนึ่งของท่อPPR จึงทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบรอยร้าวหรือรอยรั่วของท่อ ซึ่งสามารถทำการตรวจเช็คด้วยตัวเองได้ง่าย จากการ สังเกตด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องมือช่วยเช่น แว่นขยายหรือไฟฉาย เพื่อตรวจสอบรอยรั่วที่จะอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ โดยหากพบการรั่วซึม ควรรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนท่อที่ชำรุดโดยเร็ว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตามมาเป็นปัญหาใหญ่ และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม 3.การรักษาความสะอาด

ทริคการบำรุงรักษาท่อ PPR เพื่อยืดอายุการใช้งาน Read More »