มิเตอร์น้ำ

ระบบน้ำประปาภายในบ้าน

ระบบน้ำประปาภายในบ้าน

ระบบน้ำประปาภายในบ้านสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ  1.ระบบจ่ายน้ำขึ้น เหมาะสำหรับอาคารหรือบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 3 ชั้นโดยน้ำจะถูกจ่ายจากท่อประปาหลักเข้าสู่ถังเก็บน้ำใต้ดินหรือบนดินจากนั้นจึงจ่ายไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆภายในอาคารแรงดันน้ำจะขึ้นอยู่กับความสูงของอาคารและขนาดของท่อประปา 2.ระบบจ่ายน้ำลง เหมาะสำหรับอาคารหรือบ้านที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปโดยน้ำจะถูกสูบจากท่อประปาหลักขึ้นไปเก็บไว้ในถังเก็บน้ำบนอาคารจากนั้นจึงจ่ายไปยังจุดจ่ายน้ำต่างๆภายในอาคารแรงดันน้ำจะขึ้นอยู่กับขนาดของถังเก็บน้ำและจำนวนชั้นของอาคาร 3.ระบบจ่ายน้ำแบบผสม ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้อยู่อาศัยข้อดีของระบบประปาในบ้านแบบผสมระบบนี้สามารถรับน้ำประปาที่จ่ายจากท่อประปาหรือสูบน้ำขึ้นจากชั้นล่างได้โดยตรงและยังสามารถรับน้ำประปาที่จ่ายจากถังเก็บหลังคาได้อีกด้วย

ระบบน้ำประปาภายในบ้าน Read More »

ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน

สาเหตุที่ทำให้ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน วิธีแก้ไขท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน สำหรับท่อประปาใต้ดิน หรือใต้บ้านนั้น ค่อนข้างยากที่จะตรวจสอบหรือพบเห็น แต่ก็สามารถสังเกตได้จากการใช้น้ำในชีวิตประจำวันว่า น้ำประปา ไหลอ่อนกว่าปกติ ซึ่งถ้าไม่พบความผิดปกติที่จุดอื่น ให้ลองตรวจสอบดูทั้งบริเวณภายใน และภายนอกบ้าน ว่ามีน้ำรั่วซึมจนขังที่พื้นบ้าน หรือสนามหญ้าตลอดเวลาหรือไม่ และกรณีที่ท่อน้ำรั่วซึมจากการทรุดตัวของบ้าน หรือส่วนต่อเติมบ้านทรุด สังเกตได้ว่า บริเวณที่ อาจเป็นปัญหาจะมีการทรุดตัวมากกว่าส่วนอื่น ๆ เนื่องจากดิน หรือทรายใต้ดิน มีการเคลื่อนตัว การแก้ไขเบื้องต้น  หากพบว่า มีท่อน้ำรั่วใต้ดิน หรือท่อน้ำประปารั่วใต้พื้นบ้าน ต้องใช้วิธีขุดเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหา เพื่อทำการซ่อมแซม แต่จะขุดมากน้อยแค่ไหน อาจต้องประเมินดูตามโครงสร้างของบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว ตัวโครงสร้างบ้าน จะมีฐานรากรองรับอยู่ ซึ่งจะมีช่องว่างพอ ที่จะสามารถมุดเข้าไปซ่อมแซม แก้ไขท่อบริเวณใต้บ้านได้ ดังนี้

ท่อประปารั่วใต้พื้นบ้าน Read More »

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง เกิดจากอะไร

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้งเกิดจากอะไร

สาเหตุของเสียงรบกวนจากระบบท่อน้ำทิ้ง เกิดจากอะไร Read More »

ระบบสุขาภิบาล มีกี่ประเภท

ระบบสุขาภิบาล มีกี่ประเภท

ระบบสุขาภิบาลมีกี่ประเภท ตามมาตรฐานการออกแบบที่ใช้ในระดับสากล และในประเทศไทย ระบบสุขาภิบาล สามารถแบ่งออกได้ 7 ระบบ คือ… 1. ระบบน้ำดีหรือน้ำประปา คือ ระบบท่อที่ใช้งานในการลำเลียงน้ำสะอาดไปใช้งานตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร เช่น ระบบน้ำประปาสำหรับห้องน้ำ ห้องครัว ห้องซักล้าง หรือ ระบบน้ำดับเพลิงภายในอาคาร เป็นต้น 2. ระบบระบายน้ำโสโครก คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากโถส้วม หรือโถปัสสาวะออกจากพื้นที่และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร 3. ระบบระบายน้ำทิ้ง คือ ระบบท่อที่นำน้ำเสียที่ถูกใช้งานจากกิจกรรมอื่น ๆ ออกจากพื้นที่ และนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร 4. ระบบบำบัดน้ำเสีย คือ ระบบที่ใช้บำบัดน้ำจากการใช้งานภายในอาคาร ให้มีค่าดัชนีวัดค่าคุณสมบัติต่าง ๆ ของน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก่อนระบายออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ 5. ระบบท่อระบายอากาศหรือท่ออากาศ คือ ระบบท่อที่จะติดตั้งเข้ากับระบบท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาสุญญากาศในเส้นท่อระบายน้ำ ซึ่งจะทำให้ระบบระบายน้ำในเส้นท่อสามารถระบายน้ำได้สะดวก 6. ระบบท่อระบายน้ำฝน คือ ระบบท่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำฝนที่เกิดขึ้นกรณีฝนตกออกจากตัวอาคาร 7. ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร คือ ระบบท่อระบายน้ำบริเวณโดยรอบของอาคาร

ระบบสุขาภิบาล มีกี่ประเภท Read More »

รูปแบบการเดิน ท่อประปาภายในบ้าน

รูปแบบการเดินท่อประปาภายในบ้าน

รูปแบบการเดินท่อประปาภายในบ้าน โดยทั่วๆไปแล้วการเดินท่อภายในบ้านจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี  วิธีการเดินท่อแบบลอย หรือ การเดินท่อแบบติดผนัง วางบนพื้น ไม่ได้ทำการฝังเข้าไปในกำแพง หรือ เพดาน เป็นวิธีการเดินท่อที่สามารถมองเห็นท่อได้ ทำให้ซ่อมแซมท่อได้ง่าย แต่จะส่งผลให้บ้าน หรือ อาคารไม่มีความสวยงาม  วิธีการเดินท่อแบบฝัง หรือ การฝังท่อเข้าไปในผนัง หรือ การวางระบบท่อแล้วฉาบปูนทับ หรืออาจจะถูกนำไปซ่อนไว้ตามเพดาน แล้วนำฝ้ามาปิดทับก็ได้ วิธีการเดินท่อแบบฝังจะทำให้บ้านหรืออาคารมีความสวยงามมากกว่าการเดินท่อแบบลอย แต่จะมีข้อด้อยในส่วนของการซ่อมแซมที่ทำได้ยาก

รูปแบบการเดินท่อประปาภายในบ้าน Read More »

ระบบน้ำที่เหมาะกับการใช้ท่อ PP R

ระบบน้ำที่เหมาะกับการใช้ท่อ PPR

ระบบน้ำที่เหมาะกับการใช้งานท่อ PPR ด้วยความแข็งแรงทนทานของท่อพีพีอาร์ จึงเหมาะกับการใช้งานในระบบน้ำหรือระบบประปาทั้งในบ้านเรือน อาคารพาณิชย์สำหรับธุรกิจ ตลอดจนอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้งานท่อที่มีความคงทนในระยะยาว โดยตัวอย่างระบบน้ำที่ท่อ PPR รองรับนั้นมีหลายประเภท เช่น

ระบบน้ำที่เหมาะกับการใช้ท่อ PPR Read More »

ก๊อกน้ำรั่ว น้ำหยด เกิดจากอะไร

ก๊อกน้ำรั่ว น้ำหยด เกิดจากอะไร

ก๊อกน้ำรั่วน้ำหยด ปัญหาการเกิดน้ำรั่วซึมนั้น มีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่าง แต่ละสาเหตุก็มีวิธีการแก้ไขแตกต่างกัน โดยสามารถสรุปสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้ ซึ่งสาเหตุดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ในบางกรณีอาจเกิดจากปัจจัยอื่นที่ต่างออกไป ซึ่งสิ่งสำคัญก่อนที่เราจะทำการซ่อม ก็คือการรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของการรั่วซึมของก๊อกเสียก่อน จากนั้น เราก็จะสามารถซ่อมได้อย่างตรงจุด วิธีซ่อมก๊อกน้ำ วิธีซ่อม : สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตรวจสอบให้มั่นใจก่อนว่า เกิดการรั่วซึมบริเวณข้อต่อของก๊อกน้ำจริงๆ โดยสังเกตจากการหยด ซึม หรือรอยน้ำ ซึ่งถ้าใช่ก็ลงมือต่อในขั้นตอนต่อไป แต่ถ้าไม่ก็ควรตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน จากนั้นหากมั่นใจแล้วว่าบริเวณข้อต่อของก๊อกน้ำรั่วซึมจริง ให้เราทำการปิดวาล์วน้ำที่จ่ายน้ำมายังก๊อกดังกล่าว ก่อนทำการซ่อมแซม ต่อมาให้เราหาผ้ามาหุ้มตัวก๊อก ก่อนใช้คีมหรือประแจเลื่อนที่เตรียมไว้ ทำการจับก๊อก และหมุนทวนเข็มเพื่อคลายหัวก๊อกออกจากข้อต่อที่ยึดติดผนัง ซึ่งเราจะเห็นเทปพันเกลียวเก่าบริเวณปลายเกลียวของก๊อก ให้เอาออกแล้วใช้เทปพันเกลียวพันรอบใหม่บริเวณเกลียวของตัวก๊อก โดยพันประมาณ 3-4 รอบ จากนั้นใช้ผ้าคลุมหัวก๊อก ก่อนใช้คีมประปา หรือคีมล็อค หมุนตามเข็มให้แน่น ปรับหัวก๊อกให้ตรงเพื่อใช้งาน แล้วค่อยทำการเปิดวาล์ว เพื่อใช้งานปกติ วิธีซ่อม : ขั้นตอนแรกให้ปิดวาล์วน้ำที่จ่ายน้ำมายังก๊อกอ่างล้างหน้าให้เรียบร้อยและถอดที่เปิดปิดน้ำออกโดยใช้หกเหลี่ยมขันออก จากนั้นให้ถอดวาล์วน้ำออกมาล้างทำความสะอาด ซึ่งในกรณีที่ซีลยางเสื่อมสามารถหาซีลยางที่มีขนาดและความหนาเท่ากันมาเปลี่ยนทดแทนได้ แต่ถ้าในกรณีที่เป็นวาล์วเซรามิกชุดสำเร็จรูปแนะนำให้ ถอดล้างภายนอกชุดวาล์วเพียงอย่างเดียวไม่แนะนำให้ถอดชุดวาว์ลออกมาล้างเนื่องจากอาจเกิดความเสียหายได้ โดยหากเป็นการล้างชุดวาล์ว แนะนำให้ฉีดน้ำเข้าในรูใดก็ได้ของชุดวาล์วแล้วบิดก้านเปิดปิดไปมาเพื่อให้น้ำผ่านเข้าด้านใน แต่หากถ้าเป็นการรั่วซึมบริเวณจุดเชื่อมต่อสายน้ำดีก็ให้ถอดสายน้ำดีออก และพันเกลียวใหม่ของก๊อกด้วยเทปพันเกลียว ประกอบก๊อกใหม่อีกครั้ง

ก๊อกน้ำรั่ว น้ำหยด เกิดจากอะไร Read More »

6 ปัญหาของระบบประปา ที่ทำให้มีตะกอน และมีส

ปัญหาของระบบประปาที่ทำให้มีตะกอนและมีสิ่งเจือปน

ปัญหาของระบบประปาที่ทำให้มีตะกอนและมีสิ่งเจือปนเกิดจากอะไร? การที่ระบบน้ำประปามีปัญหานั้น หลาย ๆ บ้านเคยเจอกันอย่างแน่นอน ทั้งน้ำมีตะกอนและสิ่งเจือปนต่าง ๆ ที่ผสมมากับน้ำ ทำให้สร้างความกังวลกับการใช้น้ำอย่างมาก เพราะน้ำที่ต้องใช้ในการอุปโภค บริโภคนั้นมีตะกอนและสิ่งเจือปน ทำให้น้ำไม่สามารถใช้ในการอุปโภค บริโภคได้อย่างปลอดภัย 1.ปัญหาจากระบบการจำหน่ายน้ำและการซ่อมท่อประปาของทางต้นน้ำ หากท่อประปามีปัญหาการเสื่อมสภาพหรือแตกรั่ว ก็จะมีการซ่อมแซมจากทางหน่วยงานอย่างเร็วที่สุด แต่ในการซ่อมแซมก็จะทำให้มีดินหรือสิ่งสกปรกที่เจือปนไปกับน้ำ ทำให้น้ำมีการเกิดตะกอน ส่วนใหญ่ตะกอนจะหายไปเองภายใน 1 วันโดยที่เรานั้นไม่สามารถทำอะไรได้เลยนอกจากรอเท่านั้น 2.ปัญหาท่อน้ำภายในบ้าน เป็นเพราะท่อน้ำมีอายุการใช้งานที่นานมากหรือมีการเปลี่ยนมาใช้น้ำแรงดันที่สูงขึ้น ทำให้คราบตะกอนที่ติดอยู่ในท่อนั้นหลุดมากับน้ำ วิธีการแก้ไขก็คือการเปลี่ยนท่อน้ำใหม่แต่จะมีงบประมาณที่สูงพอสมควร หากมีการเปลี่ยนทีนึงก็เรียกได้ว่าคุ้มค่ามาก ๆ เนื่องจากท่อน้ำนั้นสามารถใช้งานได้นานหลายปี 3.ปัญหาจากการใช้น้ำบาดาล เนื่องจากน้ำบาดาลนั้นเป็นน้ำที่มีหินปูน เหล็ก และแร่ธาตุที่มากกว่าแหล่งน้ำอื่น เช่น น้ำผิวดิน จึงทำให้ในบางครั้งเกิดคราบตะกอนตามมานั่นเอง สามารถสังเกตได้ตามก๊อกน้ำและฝักบัวก็จะเห็นได้ว่าจะมีคราบหินปูนติดอยู่ 4.ปัญหาจากการติดตั้งปั๊มน้ำ ปัญหานี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดตั้งน้ำแบบดูดจากท่อส่งน้ำรวมโดยตรง ทำให้ปั๊มน้ำนั้นดูดดิน โคลน ตะกอน และสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้ามาในบ้าน นอกจากนี้การติดตั้งปั๊มน้ำแบบนี้ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย 5.ปัญหาจากถังเก็บน้ำภายในบ้าน ควรทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในบ้านทุก ๆ 6 เดือน และควรปิดฝาถังเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่น ละออง หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่จะปลิวผสมลงไปกับน้ำ ทำให้น้ำนั้นเกิดความสกปรกได้ 6.ปัญหาจากเครื่องกรองน้ำและก๊อกน้ำฝักบัวในบ้าน

ปัญหาของระบบประปาที่ทำให้มีตะกอนและมีสิ่งเจือปน Read More »

มิเตอร์น้ำ

การตรวจสอบมิเตอร์น้ำ

การตรวจสอบมิเตอร์น้ำ 1. ลองปิดการใช้น้ำภายในบ้านทั้งหมด และเดินออกไปดูที่มิเตอร์น้ำหน้าบ้านว่าหมุนอยู่หรือไม่ 2. หากตัวเลขที่มิเตอร์น้ำหมุนถอยหลัง หรือไม่หมุนขณะมีการเปิดการใช้น้ำ ถือว่ามีความผิดปกติ หรือตัวเลขที่มิเตอร์น้ำเพิ่ม ในขณะที่ไม่มีการใช้น้ำ ให้สังเกตว่ามิเตอร์มีน้ำรั่ว ซึม หยดออกมาจากมิเตอร์น้ำหรือไม่ 3. หน้าปัดมิเตอร์มีน้ำขัง หรือ เกิดไอน้ำหรือไม่ ตัวมิเตอร์น้ำมีการชำรุด แตก หรือเสียหายไหม หากทดลองวิธีที่กล่าวไปแล้วนั้นยังไม่พบความผิดปกติ แต่ค่าน้ำมีความแตกต่างกันมากเกินไปจนทำให้คิดว่ามีบางอย่างผิดปกติ ให้เขียนคำร้องขอตรวจสอบ เพื่อขอทดสอบมาตรวัดน้ำว่าเที่ยงตรงหรือไม่ ได้ที่สำนักงานประปาสาขาพื้นที่เขตที่อาศัยอยู่ ในกรณีที่เป็นอาคาร คอนโด แจ้งนิติบุคลเพื่อตรวจสอบความผิดปกติของมิเตอร์น้ำ ———————————————\\\ กำลังมองหาคำแนะนำจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตฐาน .. ราคาพิเศษสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง ราคาขายส่ง ราคาโรงงาน .. พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย .. สนใจรับราคาพิเศษ..หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Inbox : m.me/103142917882034Line : https://lin.ee/BbS0txtTel : 02 870 3351 ดูสินค้าทั้งหมดของเราได้ที่ http://www.hometools-center.com .. #ท่อpvc #ท่อscg #ท่อตราช้าง #ท่อตราเสือ

การตรวจสอบมิเตอร์น้ำ Read More »